online store
top of page

Ferro Construction Products | Built Green. Built Different. 

  • Facebook
  • Instagram
  • Line
  • TikTok
  • Youtube

เฟอร์โรกรีต 215

ปูนปรับระดับเซ็ตตัวเร็วสําหรับซ่อมผิวโรงงาน 5-15 มม.

เฟอร์โรกรีต 215 เทคโนโลยีปูนปรับระดับไหลได้ด้วยตัวเองชนิดเซ็ตตัวเร็ว ความหนา 5-15 มม. ใช้สำหรับปรับปรุงพื้นคอนกรีตที่สึกกร่อนภายในโรงงาน เช่น พื้นโรงงานอุตสาหกรรม พื้นอาคารจอดรถยนต์  โดยไม่ทำให้หน้างานเลอะเทอะ เหมาะสำหรับใช้เทปรับระดับพื้นให้ได้ระนาบ สม่ำเสมอ ซ่อมพื้นที่เสียหายภายในโรงงานให้เรียบเนียน ทำให้ผิวมีความสวยงาม มาพร้อมคุณสมบัติพิเศษ ไหลปรับระดับพื้นได้เอง มีส่วนผสมของซีเมนต์พิเศษ ทรายควอตซ์ และพอลิเมอร์ ให้แรงยึดเกาะดีเยี่ยม ให้ผิวเงางาม ไหลตัวดี ทนทานต่อสภาวะอากาศ การเสียดสีของล้อรถยนต์ ล้อโฟล์คลิฟท์ พาเลต


คุณสมบัติเด่น:

  • ปูนปรับระดับสำหรับซ่อมแซมพื้นโรงงานอุตสาหกรรม โกดัง คลังสินค้า

  • เปิดใช้งานพื้นที่ได้เร็วภายใน 3 วัน

  • เทคโนโลยีปูนไหลปรับระดับพื้นได้เอง การหดตัวต่ำ

  • ค่ารับน้ำหนักสูง ยึดเกาะได้ดีกับพื้นผิวเดิม ลดปัญหาพื้นหลุดล่อน บวม หรือโก่งตัว

  • ใช้งานง่าย เพียงผสมน้ำ และปาดด้วยคราด

  • ผิวแกร่งทนต่อการสัญจรของล้อโฟล์คลิฟท์

  • ผ่านการผลิตและทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C1708/C1 708M-19, ASTM C1583/C1583M-20, BS EN 13892-4-2002

Overview

ภาพรวมสินค้า

Usage (การใช้งาน)
Advantages (ประโยชน์)

เหมาะสำหรับงานซ่อมผิวคอนกรีต ที่รอการรื้อสกัดและเทใหม่

เซ็ตตัวเร็ว, แห้งกลางแจ้ง, เปิดสัญจรรถยนต์ได้ภายใน 6 ชม.

เหมาะสำหรับใช้งานกลางแจ้ง ทนทานต่อสภาวะอากาศและการสัญจรของรถยนต์

ปูนไหลเทกลางแจ้งได้ (Outdoor self-leveling mortar) ปาดง่ายได้ความหนาตั้งแต่ 5-15 มม.

ผิวถนนคอนกรีตเก่าที่ไม่มีรอยร้าว สึกกร่อนบางๆ 5-15 มม. จากการเสียดสี ของล้อรถยนต์ทำให้ผิวชั้นน้ำปูนที่แห้ง (Laitance) หลุดร่อนออก เช่นถนนทางเข้า, หมู่บ้านจัดสรร, ถนนทางเข้าบ้าน

ใช้งานง่ายเพียงผสมน้ำสะอาดและปาดด้วยคราด

ผิวถนนคอนกรีตใหม่ที่ไม่มีรอยร้าว ระหว่างการก่อสร้าง เมื่อเทคอนกรีตเสร็จ เกิดฝนตกชะล้างชั้นน้ำปูนออก ทำให้เห็นเม็ดทราย

ผสมสารกันราดำและช่วยลดแอ่งน้ำขังให้ตื้นขึ้น

Packaging (ขนาดบรรจุ)
Colour (สี)

25 กก./ถุง (80 ถุง/พาเลท)

ผงสีปูน


Technical Information

คุณสมบัติทางเทคนิค

คุณสมบัติ
ค่า
มาตรฐาน

การไหลแผ่เริ่มต้น, มม. (ประมาณ) Initial flow, mm. (Approx.)

>130 มม.

ASTM C1708/ C1708M-19

การไหลแผ่, ผ่ มม. (ประมาณ) Flow retention, mm. (Approx.) - ที่ 20 นาที - ที่ 30 นาท

>120 มม. >70 มม

ASTM C1708/ C1708M-19

ระยะเวลาคืนตัว, นาที (ประมาณ) Healing time, minute (Approx.)

25 นาที

ASTM C1708/ C1708M-19

ระยะเวลาก่อตัว, นาที (ประมาณ) Setting time, minute (Approx.) - การก่อตัวระยะต้น - การก่อตัวระยะปลาย

35 นาที 44 นาท

ASTM C1708/ C1708M-19

ความต้านแรงอัด, เมกะปาสคาล (ประมาณ) Compressive strength, MPa. (Approx.) - ที่ 6 ชม. - ที่ 1 วัน - ที่ 3 วัน - ที่ 7 วัน - ที่ 28 วัน

>10 เมกะปาสคาล >15 เมกะปาสคาล >20 เมกะปาสคาล >25 เมกะปาสคาล >30 เมกะปาสคาล

ASTM C1708/ C1708M-19

ความต้านแรงดัด, เมกะปาสคาล (ประมาณ) Bond strength by slant shear, MPa. (Approx.) - ที่ 3 วัน - ที่ 7 วัน - ที่ 28 วัน

>4 เมกะปาสคาล >5 เมกะปาสคาล >7 เมกะปาสคาล

ASTM C1708/ C1708M-19

การเปลี่ยนแปลงความยาว ที่ 28 วัน, ร้อยละ (ประมาณ) Length change at 28 days, % (Approx.)

-0.087%

ASTM C1708/ C1708M-19

แรงยึดเกาะ ที่ 28 วัน, เมกะปาสคาล (ประมาณ) Adhesive strength at 28 days, MPa. (Approx.)

>2 เมกะปาสคาล

ASTM C1583/ C1583M-20


Application

วิธีผสมและการใช้งาน
Application Information
วิธีการใช้งาน
  • 1 ถุง (25 กก.) / นํ้าสะอาด 20-22% (5-5.5 ลิตร)

  • ห้ามเทหนาเกินกว่า 8 มม. เพราะอาจทำให้เกิดรอยแตกร้าวขนาดเล็ก

  • ค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศไม่เกิน 90% (Relative humidity, RH%)

  • อุณหภูมิผิวคอนกรีตที่ติดตั้งต้องอยู่ประมาณ 30-35 °ซ

  • 10 นาที

Application Steps
ขั้นตอนการติดตั้ง
    1. ซ่อมแผลตื้น 5-10 มม. ควรตัดขอบแผลคอนกรีตที่สึกกร่อนให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยมีขอบคอนกรีตที่แข็งแรง จากนั้นพรมนํ้าให้ชุ่ม ทิ้งแห้งหมาด ฉาบอุดแผล บนผิวคอนกรีต (5-10 มม.) ด้วยมอร์ตาร์เซ็ทตัวเร็วซ่อมผิวถนนสึกกร่อน (เฟอร์-โรแพ็ทช์ 550) ทิ้งแห้ง 15-30 นาที

    2. ซ่อมแอ่ง ที่มีแผลสึกกร่อน 10-20 มม. ปาดผิวหน้าคอนกรีตด้วย เฟอร์โรกรีต 216 1 ถุง (25 กก.) ผสมนํ้าสะอาด 20-22% (5-5.5 ลิตร) ปั่นด้วย สว่านผสมพร้อมดอกปั่น (รหัสสินค้า FG-OE-0002) ใช้เกียร2 สปีด 5 (450-600 รอบ/นาที) นาน 1 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน ผสมหินเกล็ด (3/8 นิ้ว) (5 กก.) ปั่นต่ออีก 30 วินาที เมื่อผสมแล้วให้รีบนำไปใช้งานทันที ควรปาดบางตั้งแต่ 10-20 มม. ควรใช้ให้หมดทันทีและไม่ควรผสมนํ้าเพิ่มอีก

    3. ซ่อมผิวถนนภายนอก (กรีดหน้าลาย) ที่มีแผลสึกกร่อน 3-8 มม. ปาดผิวหน้าคอนกรีตด้วย เฟอร์โรกรีต 216 1 ถุง (25 กก.) ผสมนํ้าสะอาด 20-22% (5-5.5 ลิตร) ปั่นด้วยสว่านผสมพร้อมดอกปั่น (รหัสสินค้า FG-OE-0002) ใช้เกียร2 สปีด 5 (450-600 รอบ/นาที) นาน 1 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อผสมแล้วให้รีบนำไปใช้งานทันที ควรปาดบางตั้งแต่ 3-8 มม. ด้วยคราดปรับระดับ (รหัสสินค้า FG-14OE-8858915211170) และใช้ลูกกลิ้งหนามไล่ฟอง (รหัสสินค้า OE-8858915211163) ควรใช้ให้หมดภายใน 10 นาที และไม่ควรผสมนํ้าเพิ่มอีก

    4. งานกลางแจ้งแดดจัด ทิ้งแห้งหมาดประมาณ 8-10 นาที เริ่มกรีดหน้าลายด้วยคราดลวดกรีดหน้าลายถนน (รหัสสินค้า FG-2IC-8858915220684) และ ให้ทิ้งแห้งอีกประมาณ 20-30 นาที หรือเมื่อสังเกตผิวเริ่มแห้งหมาด เปลี่ยนสีจางลงและไม่มีน้ำบนผิว มือแตะผิวไม่เป็นรอย ให้รีบบ่มด้วยสารเหลวสำหรับบ่มผิวปูนเซ็ทตัวเร็ว (เฟอร์โรเคียว 115) หลังจากกรีดหน้าลายเสร็จ


  • การเตรียมผิวพื้นคอนกรีตเก่า

    พื้นผิวเดิมที่มีรอยร้าวขนาดร่องกว้าง 0.1-2 มม. ควรซ่อมด้วยชุดอีพ็อกซี่ฉีดซ่อมรอยแตกร้าวคอนกรีต (เฟอร์-โรเรซ 717/คิท)

    • กรณีที่ 1 : ผิวพื้นคอนกรีตเก่าเป็นน้ำปูนที่แห้งไม่แข็งแรง ไม่เหมาะกับการยึดเกาะทับผิว (Laitance) หรือเป็นผิวมันท็อปปิ้ง (Loose mortar topping) ที่พร้อมจะหลุดร่อน


    วิธีประเมินผิว

    ใช้วิธีกรีดด้วยมีด (Knife test) ถ้าเป็นฝุ่นง่าย มีรอยลึกจากการกรีดได้ถึง 2 มม. หรือแซะด้วยมีดออกเป็นฝุ่นง่าย แสดงว่าเป็นชั้นน้ำปูนอ่อนแอ ไม่เหมาะกับการเท เฟอร์โรกรีต 216 ทับหนา

    การเตรียมผิว

    ผิวที่อ่อนแอจะต้องถูกกัดออกด้วย เครื่องขัดเตรียมผิวคอนกรีต (Concrete scarifier) ให้ได้ความหยาบตามมาตรฐานสถาบันซ่อมแซมคอนกรีตระหว่างประเทศ มีค่าความหยาบ ระหว่าง 4-6 (The International Concrete Repair Institute ICRI csp 4-6) จนถึงชั้นที่แข็งแรง ทั้งนี้ เครื่องขัดเตรียมผิวคอนกรีต (Concrete scarifier) จะทำให้ผิวหยาบ (Rough profile) เหมาะกับการยึดเกาะ ส่วนกรณีท็อปปิ้งหลุดร่อนจากผิวคอนกรีต ต้องสกัดและเทท็อปปิ้งใหม่ ปกติควรมีค่ารับน้ำหนักไม่น้อยกว่า 210 กก./ตร.ซม. ที่ 28 วัน ดูดฝุ่นและเช็ดด้วยผ้าม็อบหมาด


    หลีกเลี่ยง

    การฉีดบ่มน้ำปริมาณมากๆ ลงบนผิวที่เตรียมไว้แล้วเนื่องจาก เฟอร์โรกรีต 216 มีสารเคมีป้องกันการถูกแย่งน้ำและน้ำที่บ่มจะไม่มีทางระบายออก จึงอาจดันแผ่นผิวของ เฟอร์โรกรีต 216 ให้บวมเป็นจุดๆ ได้ เพราะเซ็ทตัวเร็วมากกว่าการระบายความชื้นของปูนปกติ จึงต้องเตรียมผิวเหมือนกับงานพื้นอีพ็อกซี่โรงงานอุตสาหกรรม (Epoxy industrial floor) การทำให้ผิวชื้น (Moistening) สลัดน้ำด้วยแปลงขนดำให้ชุ่มพอประมาณก่อนเริ่มงาน 10-15 นาที เพื่อลดอุณหภูมิผิวคอนกรีตและลดการแย่งน้ำ ไม่ควรฉีดบ่มน้ำมากเกินไป 


    • กรณีที่ 2 : ผิวพื้นเก่าเคลือบสารที่เป็นอุปสรรคต่อการยึดเกาะทั้งที่มองเห็นได้ง่ายและที่สังเกตได้ยาก เช่น น้ำยาบ่ม, น้ำมัน, สารกันน้ำและอีพ็อกซี่

    วิธีประเมินผิว

    ใช้วิธีหยดด้วยน้ำ (Drop test) หากทดลองหยดน้ำบนผิวแล้วหยดน้ำกลมเหมือนน้ำบนใบบัว ดูดซึมช้า ภายใน 10 วินาที ยังไม่ซึมหมด แสดงให้เห็นว่า น่าจะมีสารเคลือบผิวอยู่

    การเตรียมผิว

    ใช้เครื่องขัดผิว (Floor grinding) เป็นใบลูกถ้วยเพชร หมุนขัดบนผิวเพื่อลอก สารเคลือบผิวออก หรือใช้เครื่องยิงเม็ดเหล็ก (Shot blast) เพื่อกัดผิวหน้าออกประมาณ 1 มม. ให้ผิวหยาบสะอาด ทั้งนี้ควรทดสอบหยดน้ำอีกครั้งหลังเตรียมผิวและทดลองเท เฟอร์โรกรีต 216 ทดสอบ 1-2 ตร.ม. ก่อนเทแผงใหญ่


    การเตรียมผิวพื้นคอนกรีตใหม่

    ผิวคอนกรีตขัดมัน (Trowel floor) ควรมีค่ารับน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 210 กก./ตร.ซม. และแห้งเซ็ทตัวสมบูรณ์ไม่ต่ำกว่า 28 วัน ในกรณีจำเป็นต้องเททับบนคอนกรีตที่ยังไม่บ่มตัวสมบูรณ์ (Green concrete) คอนกรีตนั้นจะต้องมีค่าความชื้นสะสมในเนื้อคอนกรีต (Collective moisture in concrete) สูงสุดไม่เกิน 4% และในขณะติดตั้งต้องมีค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศไม่เกิน 90% (Relative humidity, RH%)


    • การเตรียมผิว (ต้องใช้เครื่องขัดเตรียมผิวคอนกรีต (Concrete scarifier) เท่านั้น ห้ามข้ามขั้นตอน)*

    1. พื้นผิวคอนกรีตบริเวณที่จะซ่อมแซมต้องสะอาดปราศจากฝุ่น, จารบี, สีเก่า ฯลฯ ควรสกัดคอนกรีตที่อ่อนแอออกให้หมดถึงเนื้อคอนกรีตที่แข็งแรงด้วยเครื่องขัดเตรียมผิวคอนกรีตชนิดใบดาว (Concrete scarifier)

    (รหัสสินค้า FG-OE-0001-01) ให้ได้ความหยาบตามมาตรฐานสถาบันซ่อมแซมคอนกรีตระหว่างประเทศ มีค่าความหยาบระหว่าง 4-6 (The International Concrete Repair Institute ICRI csp 4-6) เพื่อให้เฟอรโรกรีต 216 สามารถยึดเกาะได้อย่างแข็งแรง ค่ารับนํ้าหนักของคอนกรีตเดิมต้องไม่น้อยกว่า 210 กก./ตร.ซม.

    1. ฉีดนํ้าล้างพื้นด้วยเครื่องฉีดนํ้า (Water jet 100 bar) ให้สะอาดและคอนกรีตชุ่มนํ้าจนไม่มีฟองอากาศสวนขึ้นมา ให้รีบเทเฟอร์โรกรีต 216 ลงบนผิวคอนกรีตเดิมทันที ซึ่งเรียกว่าการอิ่มนํ้าพอดี (Saturated dry) หากเทพ้นจากช่วงนี้ไปแล้ว พื้นผิวคอนกรีตเดิมจะแห้งเกินไปและจะแย่งนํ้าจาก เฟอร์โรกรีต 216 ที่เท อาจมีความเสี่ยงที่ เฟอร์โรกรีต 216 จะหลุดร่อน หรือแตกร้าว

    กรณีบ่มนํ้ามากเกินไป หรือฝนตกต่อเนื่องหลายวัน การอิ่มนํ้ามากเกินไป จะส่งผลให้พื้นเฟอร์โรกรีต 216 หลุดร่อนได้ เนื่องจากเมื่อพื้นสัมผัสแดด ความชื้นที่มากไปในพื้นคอนกรีต (Moisture) จะเปลี่ยนสภาวะเป็นไอนํ้าที่มีแรงดัน (Vapour) จึงดันผิว เฟอร์โรกรีต 216 ให้หลุดร่อน แนะนําให้รออย่างน้อย 3 วัน โดยไม่มีฝนตก เพื่อให้แน่ใจว่าพื้นผิวคอนกรีตแห้งเพียงพอ (ความชื้นสะสม <4%) จากนั้นเททับด้วย เฟอรโรกรีต 216


    การบ่ม (Curing)

    ถือเป็นข้อบังคับ หากไม่ใช้น้ำยาบ่มจะเกิดการแตกร้าว


    บ่มครั้งที่ 1 ประมาณนาทีที่ 20 หลังจากเท เฟอร์โรกรีต 216 ประมาณ 20 นาที หรือกรีดหน้าลายเสร็จ หรืออาจสังเกตจังหวะการบ่มที่เหมาะสมได้จากการสังเกตผิวเริ่มแห้งหมาดเปลี่ยนสีจางลงและไม่มีนํ้าบนผิว มือแตะผิวไม่เป็นรอย ให้เริ่มบ่มได้ทันที ต้องบ่มผิวด้วยนํ้ายาบ่มคอนกรีตชนิดพิเศษ สารเหลวสําหรับบ่มผิวปูนเซ็ทตัวเร็ว (เฟอร์โรเคียว 115) ปริมาณการใช้ 6-8 ตร.ม./ลิตร/ครั้ง

    *ข้อควรระวัง

    • จังหวะบ่มเร็วเกินไปผิวยังเปียกไม่แห้งหมาด เมื่อพ่นนํ้ายาบ่ม จะเกิดคราบขาว (Efflorescence) ซึ่งล้างไม่ออก ต้องขัดเจียรเท่านั้น

    • จังหวะพ่นบ่มช้าเกินไปผิวแห้งขาวแล้ว จะเสี่ยงต่อการแตกลายงา

    บ่มครั้งที่ 2 ประมาณชั่วโมงที่ 3 หลังบ่มครั้งแรกเสร็จ เพื่อลดความร้อนของ เฟอร์โรกรีต 216 ซึ่งจะมีความร้อนระหว่างการก่อตัวสูงกว่าปูนทั่วไปมาก ปริมาณการใช้ 6-8 ตร.ม./ลิตร/ครั้ง (ฤดูฝน หรือวันที่อากาศครึ้มไม่ร้อนบ่มครั้งเดียวได้)

    *หมายเหตุ

    1. การใช้เทคนิคบ่ม 2 ครั้ง (Double curing) จึงช่วยลดความเสี่ยง จากการแตกลายงาได้ดีกว่าการบ่มครั้งเดียว

    2. เป็นข้อจํากัดที่อาจเกิดคราบขาว เนื่องจากนํ้ายาบ่มมีส่วนผสมของนํ้าและ ในเนื้อมอร์ตาร์มีนํ้าและหินปูน (Lime) เป็นองค์ประกอบ ซึ่งถ้าจังหวะบ่มโดย เฟอร์โรกรีต 216 ยังมีคราบนํ้าอยู่มาก (เปียก) และผู้ติดตั้ง สเปรย์นํ้ายาบ่มเพิ่มลงไปอีก ทําให้มีน้ำส่วนเกิน คราบหินปูนจึงลอยขึ้นบนผิวและเมื่อแห้งจะเช็ดไม่ออก ต้องขัดด้วยใบเจียร์กระดาษทรายเบาๆ

    อย่าพ่นมากไปจนนํ้ายานอง หรือ เป็นแอ่งขังของนํ้ายาบ่ม เพราะจะทําให้เกิดคราบขาวของหินปูน (Efflorescence)

  • ควรล้างเครื่องมือผสมด้วยน้ำทันที ก่อนเฟอร์โรกรีต 216 แห้ง (กรณีที่แห้งควรสกัดออกด้วยแรงกล)

Product Details

ข้อมูลผลิตภัณฑ์
Sustainability / Certifications / Approvals
ความยั่งยืน / มาตรฐานอ้างอิงการทดสอบผลิตภัณฑ์
  • Green Industry - กระทรวงอุตสาหกรรม

  • ผลิตและทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C109, ASTM C 1708,
    ASTM C 807, ASTM C 348, ASTM C1583/C1583M-20 *สินค้ายื่นจดอนุสิทธิบัตร

Product Information
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
  • อายุการเก็บรักษา 1 ปีในที่ร่ม และ แห้ง

  • เก็บในที่ร่ม, แห้งห้ อุณหภูมิประมาณ 23 °
    ซ ± 2% ความชื้นสัมพัทธ์ 50 ± 5%RH (ตามมาตรฐาน ISO 554)

System Information
ข้อมูลระบบ
  • Ferrocure 115 (บ่ม)
    Ferrocrete 216 (ชั้นปูน)
    Ferrorez 717 kit (ซ่อมรอยร้าว)

bottom of page