โดยปกติเมื่อพูดถึงปูนซ่อมพื้นชนิดฉาบบางเรามักจะนึกถึงปูนที่ต้องใช้มือปาดเพื่อให้พื้นเรียบได้ระดับ อย่างไรก็ตาม การใช้ปูนฉาบซ่อมพื้นถนนมักจะทำให้พื้นขาดความเรียบเนียนและเป็นคลื่นได้ การมีปูนปรับระดับสำหรับซ่อมแซมพื้นถนนจึงกลายมาเป็นทางเลือกที่หลายคนหันมาใช้
ปูนทั้งสองประเภทที่กล่าวมามีองค์ประกอบหลักเดียวกันคือซีเมนต์ แต่มีวิธีการใช้งานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เรียบเนียน ได้ระดับแตกต่างกันดังนั้นบทความนี้จึงจะมาบอกคุณว่าปูนทั้งสองประเภทนี้ต่างหรือเหมือนกันอย่างไร พร้อมทำความเข้าใจใน 3 นาที
ทำความรู้จักกับปูนฉาบซ่อม
ปูนซ่อมพื้นชนิดฉาบบาง เป็นปูนทรายสำเร็จรูปที่ต้องผสมกับน้ำเพื่อใช้งาน มีคุณสมบัติเหมาะสำหรับงานซ่อมพื้นผิวคอนกรีตที่สึกกร่อน เสียหาย หรือผิวหน้าคอนกรีตชำรุดจากการใช้งานด้วยวิธีการใช้เกรียงฉาบลงบนพื้นผิวที่ต้องการจะซ่อมแซม ปูนฉาบซ่อมพื้นนิยมนำมาใช้ปรับปรุงพื้นถนนคอนกรีต พื้นอาคาร พื้นคลังสินค้า ดาดฟ้า หรือพื้นที่มีความลาดเอียง เป็นต้น
ส่วนประกอบหลักของปูนซ่อมพื้นชนิดฉาบบาง ได้แก่ ซีเมนต์ ทรายคัดเกรด พอลิเมอร์ และสารเติมแต่งอื่น ๆ ที่แต่ละยี่ห้อมีแตกต่างกัน วิธีการใช้งานง่าย ๆ เพียงผสมน้ำตามอัตราส่วน ปั่นให้เข้ากัน แล้วเทฉาบบริเวณพื้นที่สึกกร่อนที่ต้องการซ่อมแซม
ปูนปรับระดับ self- leveling: ปูนสำหรับซ่อมพื้นให้เรียบเนียน
ปูนปรับระดับพื้น self-leveling คือ ปูนทรายปรับระดับใช้เพื่อปรับระดับพื้นที่ไม่เรียบเสมอกัน หรือพื้นที่สึกกร่อน หินโผล่ ไม่สวยงามนิยมนำมาเทซ่อมพื้นโรงงานอุตสาหกรรม คลังสินค้า หรือพื้นภายในอาคารก่อนปูกระเบื้องยางปิดทับเพื่อความเรียบเนียนของพื้น จุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือปูนชนิดนี้มีคุณสมบัติเด่นคือมีความเหลวและไหลตัวได้เอง สามารถปล่อยให้สม่ำเสมอโดยทั่วกันได้โดยไม่ต้องปาดให้เรียบ
นอกจากนี้ปูนปรับระดับยังมีการพัฒนาเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงพื้นถนนที่ผิวหน้าคอนกรีตสึกกร่อนให้กลับมาเรียบเนียน สวยงามเหมือนใหม่ เนื่องจากการไหลตัวของพอลิเมอร์และเส้นใยไฟเบอร์จะช่วยลดการแตกร้าว ปูนปรับระดับจึงเหมาะที่จะนำมาปรับปรุงถนนที่เสียหายเฉพาะผิวหน้าคอนกรีต
หากพูดถึงความแตกต่างของปูนปรับระดับ VS ปูนซ่อมพื้นชนิดฉาบบาง เพื่อให้คุณสามารถเลือกปูนที่เหมาะสำหรับการซ่อมแซมพื้นในบริเวณที่สึกกร่อนและเสียหาย ดังนี้ มีทั้งหมด 3 ข้อ ดังนี้
ความเรียบเนียน
ปูนปรับระดับมีคุณสมบัติไหลตัวดี เรียบเนียนได้เอง โดยมีคราดปรับระดับเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะช่วยเกลี่ยปูนให้ได้ระดับ ต่างจากปูนฉาบซ่อมที่ใช้เกรียงเป็นเครื่องมือในการปาดเพื่อให้พื้นเรียบเนียน ทำให้การซ่อมพื้นแบบฉาบบางมีข้อจำกัดเรื่องความเรียบเนียนสวยงาม เพราะต้องอาศัยฝีมือช่างที่มีความชำนาญสูง
ความรวดเร็ว
หากพูดถึงความรวดเร็ว การใช้ปูนปรับระดับยังคงได้เปรียบเรื่องความเร็วอยู่มาก เนื่องจากปูนสามารถไหลตัวให้เรียบเนียนได้เอง โดยไม่ต้องปาดให้เรียบ แต่ปูนฉาบซ่อมยังต้องพึ่งพาแรงงานช่างที่มีความชำนาญเพื่อปาดให้เรียบ โดยเฉพาะในกรณีที่มีหน้างานหรือบริเวณพื้นที่ที่ต้องการปรับปรุงซ่อมแซมขนาดใหญ่ การเลือกใช้ปูนปรับระดับจะช่วยให้เสริมให้การทำงานนั้นมีความสะดวกและจบงานได้รวดเร็วกว่า
พื้นที่การใช้งาน
หากพื้นที่ที่ต้องการปรับปรุงมีขนาดใหญ่ เช่น การซ่อมผิวถนนคอนกรีต พื้นโรงงานอุตสาหกรรม พื้นภายในอาคาร ลานจอดรถ การเลือกใช้ปูนปรับระดับจะเหมาะสมและตอบโจทย์เรื่องการใช้งานกว่า แต่หากพื้นที่สึกกร่อนนั้นมีหน้างานขนาดเล็ก หรือเป็นบริเวณพื้นที่เป็นแอ่งขนาดเล็ก มีความลาดเอียง การเลือกใช้ปูนซ่อมพื้นชนิดฉาบบางซ่อมแซมจะมีความเหมาะสมและใช้งานได้ดีกว่า
นี้จึงถือว่าเป็นความแตกต่างของการใช้งานของปูนซีเมนต์และปูนปรับระดับพื้น
การใช้งานของทั้งปูนทั้งสองประเภทต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน กรณีของปูนปรับระดับ self-leveling เป็นปูนประเภทที่ตอบโจทย์เรื่องเวลาและความรวดเร็ว สามารถซ่อมแซม แก้ไขเพื่อให้พื้นนั้นมีความเรียบเนียนและสม่ำเสมอกันได้ แต่ปูนซ่อมพื้นชนิดฉาบบางจะเหมาะกับการซ่อมแซมบริเวณที่มีความลาดเอียง และเป็นแอ่งได้ดี โดยไม่ไหลตัว