online store
top of page

Ferro Construction Products | Built Green. Built Different. 

  • Facebook
  • Instagram
  • Line
  • TikTok
  • Youtube

เรื่องพื้น ๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับถนนคอนกรีต

อัปเดตเมื่อ 15 ต.ค. 2567

ถนนคอนกรีต คือ ถนนที่ถูกสร้างด้วยคอนกรีต พื้นผิวมีลักษณะแข็ง ทนทานต่อการสึกกร่อน และมีค่ารับน้ำหนักสูง เหมาะสำหรับบริเวณที่มีรถบรรทุกและรถยนต์สัญจรบ่อยครั้ง แต่ไม่หนาแน่นมากนัก สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในประเทศไทย โดยเฉพาะถนนสายรอง ถนนในหมู่บ้าน และถนนชุมชนเมืองครับ หลังจากทำความรู้จักถนนคอนกรีตกันไปแล้ว วันนี้ทีม Ferro อยากพาทุกคนไปเจาะลึกเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับถนนคอนกรีตให้มากขึ้น ตามมาดูกันเลย!



ประเภทของถนนในประเทศไทย

ถนนในประเทศไทยมีหลากหลายแบบ ซึ่งในวันนี้ทีม Ferro ขอจำแนกเพื่อให้ทุกคนอ่านและเห็นภาพตามได้ง่าย ๆ ด้วยการแบ่งประเภทของถนนตามลักษณะพื้นผิวหรือวัสดุที่ใช้ในการทำผิวถนน 3 ประเภทครับ

ถนนลูกรัง

เป็นถนนที่มีต้นทุนต่ำ ราคาในการก่อสร้างไม่แพง มีลักษณะเป็นดินถมแล้วทับให้แน่นด้วยวัสดุลูกรัง เนื่องจากถนนลูกรังมีโครงสร้างเป็นดินถม ทำให้มีฝุ่นมาก เราจึงมักจะเห็นภาพถนนลูกรังชำรุด เป็นหลุมเป็นบ่อกันอยู่บ่อยครั้ง สาเหตุมาจากโครงสร้างไม่แข็งแรงนั่นเองครับ


ถนนคอนกรีต

ถนนคอนกรีตเป็นถนนที่มีความคงทนต่อการใช้งาน เพราะเป็นพื้นถนนที่ถูกปูด้วยคอนกรีต เสริมด้วยเหล็กจึงมีความแข็งแรง และทนทานกว่าถนนลูกรัง อีกทั้งยังมีขั้นตอนการก่อสร้างที่ไม่ซับซ้อน ถนนประเภทนี้นิยมสร้างในหมู่บ้าน และชุมชนเมือง แต่หากต้องการสร้างเพื่อให้มีค่ารับน้ำหนักสูง จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างแพง


ถนนลาดยาง

เรามักคุ้นเคยกับถนนลาดยางในรูปแบบถนนที่พื้นลาดยางมะตอยนั่นเองครับ แต่ถนนชนิดนี้อาจใช้วัสดุอื่น ๆ ที่มีความแข็งแรงก่อสร้างได้เช่นเดียวกัน ถนนประเภทนี้นิยมสร้างในพื้นที่ที่มีมีการจราจรหนาแน่น มีรถวิ่งผ่านไปมาเป็นจำนวนมาก การก่อสร้างถนนลาดยางจะใช้เครื่องจักรกล ทำให้ถนนมีพื้นผิวที่เรียบเนียน แต่ทนทานต่อการใช้งานได้ดี



ค่ารับน้ำหนักตามมาตรฐานกรมทางหลวง

อย่างที่ทราบกันดีว่า คอนกรีตนั้นมีค่ารับน้ำหนักที่แตกต่างกัน เพราะงานก่อสร้างแต่ละพื้นที่ต้องการค่ากำลังอัดที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับงานก่อสร้างแต่ละรูปแบบที่ต้องการจะใช้ กรมทางหลวงจึงมีการกำหนดค่ารับน้ำหนักมาตรฐานขึ้นมา หรือที่คนในวงการก่อสร้างเรียกติดปากกันว่า ค่า KSC (Kilogram Per Square Centimeter) หรือค่ากำลังอัดของคอนกรีตว่า พื้นคอนกรีตแบบใดต้องใช้ค่ารับน้ำหนักขั้นต่ำเท่าไร ดังนี้

  • งานเทถนนที่มีการจราจรไม่หนาแน่น ถนนคอนกรีตต้องมีค่ารับน้ำหนัก 210-240 KSC

  • งานเทถนนที่มีการจราจรหนาแน่น ถนนคอนกรีตต้องมีค่ารับน้ำหนัก 240-280 KSC


สำคัญอย่างไร? ทำไมต้องกรีดหน้าลายพื้นถนนคอนกรีต

หลายคนที่ไม่ได้อยู่ในวงการก่อสร้างอาจไม่ทราบว่าการกรีดหน้าลายมีความสำคัญอย่างมาก เพราะหากพื้นถนนคอนกรีตไม่ได้รับการกรีดหน้าลาย อาจก่อให้เห็นอุบัติเหตุรุนแรงได้


การกรีดหน้าลายคอนกรีต คือ การทำลายเส้นบนพื้นคอนกรีตให้เป็นช่องไฟ มีพื้นผิวขรุขระ เพื่อสร้างแรงเสียดทานให้พื้นถนนและยางรถยนต์สามารถยึดเกาะกันได้ดีขึ้น โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนที่มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนมากที่สุด การกรีดหน้าลายจึงเป็นอีกหนึ่งข้อที่กรมทางหลวงระบุไว้ในการเทพื้นถนนคอนกรีต


สรุป

สรุปแล้วไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนนขึ้นมาใหม่หรือการเทปูนปรับระดับพื้นถนนทับเพื่อซ่อมพื้นถนน สิ่งที่สำคัญก็คือผลิตภัณฑ์และปูนที่นำมาใช้ต้องมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีค่ารับน้ำหนักตามที่ 28 วันตามที่กรมทางหลวงกำหนด และต้องกรีดหน้าลายทุกครั้ง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้




bottom of page