วิธีเลือกปูนซ่อมพื้นคอนกรีตให้ตรงจุด เหมาะสมกับการใช้งานจริง
- Ferro Construction Products co., ltd
- 19 ก.พ.
- ยาว 2 นาที
อัปเดตเมื่อ 6 มี.ค.

พื้นคอนกรีตที่สวยงามย่อมเป็นหน้าและสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ใช้งานได้ และหากพื้นนั้นมีการใช้งานอยู่อย่างสม่ำเสมอแล้วด้วยนั้น ปัญหาพื้นชำรุด เสียหายย่อมเกิดขึ้นได้ แต่จะซ่อมแซมอย่างไรให้เหมาะสม เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาหลังซ่อม และลดค่าใช้จ่ายที่เกินจริง
นี่คือบทความที่จะช่วยแนะนำคุณเกี่ยวกับ วิธีซ่อมพื้นคอนกรีต ซึ่งมีหลากหลายเทคนิคให้เลือกใช้ตามลักษณะความเสียหายของพื้นผิวคอนกรีตที่ต้องการซ่อมแซม
ปูนซ่อมพื้นคอนกรีต ต้อง เลือกแบบไหนให้ตอบโจทย์?
พื้นคอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่นิยมใช้งานในหลายพื้นที่ทั้งภายในบ้าน โรงงาน และอาคารพาณิชย์ เนื่องจากมีความทนทานและสามารถรับน้ำหนักได้ดี แต่เมื่อใช้งานไปนาน ๆ พื้นคอนกรีตก็อาจเกิดปัญหารอยร้าว พื้นเสียหายและสึกกร่อนได้จากหลายปัจจัย เช่น การรับน้ำหนักมากเกินไป การแปรผันของอุณหภูมิ หรือแม้แต่การกัดกร่อนจากสารเคมีต่าง ๆ ฯลฯ
การเลือกใช้ปูนซ่อมพื้นคอนกรีต จึงเป็นสิ่งสำคัญซึ่งควรเลือกให้ถูกต้องตามประเภทของความเสียหายนั้น ๆ เพื่อยืดอายุการใช้งานและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และนี่คือ 4 วิธีซ่อมพื้นตามระดับความเสียหายของพื้นผิวซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถประเมินความเสียหายและเลือกใช้ปูนซ่อมพื้นคอนกรีตได้อย่างตรงจุด
4 วิธีซ่อมพื้นคอนกรีตตามความเสียหาย
1.ซ่อมรอยร้าว
รอยร้าวหรือรอยแตกร้าวของพื้นคอนกรีต อาจเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ซึ่งเกิดได้ทั้งก่อนคอนกรีตแข็งตัว และหลังพื้นคอนกรีตแข็งตัว เช่น รอยร้าวจากการหดตัวที่เกิดขึ้นในขณะที่คอนกรีตยังไม่แข็งตัว เนื่องจากคอนกรีตเกิดการสูญเสียน้ำไปอย่างรวดเร็วจากการระเหยไปในอากาศหรือถูกพื้นดินชั้นด้านล่างดูดน้ำไป หรืออาจเป็นรอยร้าวที่เกิดจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากเกินไป หรือการบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กำหนด ฯลฯ โดยทั่วไปแล้ว วิธีที่ใช้ซ่อมรอยร้าวมักแบ่งได้ 2 วิธี ดังนี้
Injection Method คือ การฉีดสารเหลวสำหรับซ่อมพื้นคอนกรีตแตกร้าวให้เต็ม โดยวัสดุที่ใช้สำหรับการซ่อมประเภทนี้จะมีความเหลวพิเศษ สามารถไหลแทรกซึมไปสู่รอยร้าวที่มีขนาดเล็กได้ดี มีความรวดเร็วและความแม่นยำสูง ตัวอย่างเช่น Ferrorez 717/kit ชุดอีพ็อกซี่ 2 องค์ประกอบที่มีความเหลวมาก มีคุณสมบัติในการแทรกซึมสูง สามารถฉีดซ่อมรอยแตกร้าวที่ร่องกว้าง 0.1-2 มม. ได้

Reservoir Method คือ การกั้นแนวแล้วเทปูนซ่อมพื้นคอนกรีตหรือสารเหลวเททับลงไปบนรอยแตกร้าว เพื่อให้ของเหลวค่อย ๆ แทรกซึมลงไปในคอนกรีตที่มีรูพรุนจนเต็ม วิธีนี้เหมาะสำหรับรอยแตกร้าวที่มีความกว้างเกิน 5 มม. ข้อดีของการซ่อมด้วยวิธีนี้ คือ สามารถทำได้ง่าย และรวดเร็ว แต่มีข้อควรระวัง คือ คอนกรีตที่มีรอยแตกร้าวจะต้องไม่ถูกเคลือบใสหรือทาสีทับหน้า (Top Coat) เพราะพื้นผิวจะไม่มีรูพรุน ทำให้ของเหลวไม่สามารถแทรกซึมลงไปได้

2.การซ่อมแผลลึกบนพื้นคอนกรีต (General Slab Repair)
การซ่อมด้วยวิธีนี้จะใช้วิธีการเลื่อยตัดและรื้อคอนกรีตที่สึกกร่อนและเสียหาย โดยจะตัดพื้นผิวที่อ่อนแอออก เหลือไว้เฉพาะพื้นคอนกรีตที่แข็งแรง จากนั้นทาไพรเมอร์หรือน้ำยาประสานคอนกรีต เพื่อเพิ่มแรงยึดเกาะให้แก่พื้นคอนกรีตเดิมให้ทั่วบริเวณ แล้วใช้ปูนซ่อมพื้นคอนกรีต ชนิด Repair Mortar ฉาบอัดลงไปให้เต็มแล้วปาดตกแต่งให้เรียบ วิธีนี้เหมาะสำหรับการซ่อมแผลบนแผ่นคอนกรีตที่เกิดจากการสึกกร่อน การกัดเซาะ และพื้นที่เสียหายจากแรงกระแทกทั่วไป

3.การตกแต่งและปรับปรุงผิวคอนกรีต (Concrete for Resurfacing)
การปรับปรุงและตกแต่งผิวคอนกรีต เป็นอีกหนึ่งวิธีการการซ่อมแซมพื้นผิวที่ได้รับความนิยมมากในต่างประเทศ รวมถึงในไทยเองก็เริ่มมีการนำการซ่อมพื้นคอนกรีตด้วยวิธีนี้มาใช้อย่างแพร่หลายแล้ว ทั้งการซ่อมพื้นภายในอาคาร พื้นโรงงาน ลานจอดรถ ถนน ดาดฟ้า ฯลฯ
โดยวิธีนี้สามารถจัดการกับปัญหาพื้นผิวคอนกรีตสึกกร่อน หินโผล่ ราดำ หรือผิวหน้าคอนกรีตเสียหายจากฝนตกได้ ซึ่งสามารถแบ่งวิธีการซ่อมตามลักษณะความเสียหายออกเป็น 2 บริเวณ ดังนี้
การซ่อมผิวด้วย Patching Mortar หรือการซ่อมแซมผิวคอนดรีตชนิดฉาบบาง เหมาะกับการซ่อมพื้นคอนกรีตที่เสียหายไม่ใหญ่มากข้อดีของการซ่อมด้วยปูนซ่อมคอนกรีตแบบฉาบบาง คือ หากพื้นสึกในบริเวณเล็ก ๆ สามารถซ่อมเป็นจุด ๆ ในแต่ละแผงคอนกรีตได้ ไม่จำเป็นต้องซ่อมใหม่ทั้งแผง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้
แต่ข้อเสีย คือ หากเป็นพื้นภายในอาคารที่ต้องมีวัสดุตกแต่งทับหน้า หรือเป็นพื้นบริเวณที่ต้องการความเรียบตัวสูง การซ่อมด้วยวิธีนี้อาจจะไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากการซ่อมใช้วิธีการปาดมือให้เรียบ ซึ่งอาจทำให้พื้นไม่ได้ระดับตามที่ต้องการ เมื่อปูวัสดุทับแล้วพื้นอาจยุบหรือยวบได้
การซ่อมผิวด้วยปูนซ่อมผิวคอนกรีต ที่เรียกว่า “ปูนปรับระดับ” หรือ Self Leveling วิธีนี้เหมาะสำหรับซ่อมพื้นผิวคอนกรีตที่เสียหายเป็นบริเวณกว้าง โดยการซ่อมด้วยปูนเซลฟ์ได้รับความนิยมมากในกลุ่มช่างพื้นหรือผู้รับเหมาที่ส่งงานไม่ได้ เนื่องจากพื้นสึกกร่อน เสียหาย พื้นไม่ได้ระดับ การปรับปรุงผิวด้วยปูนเซลฟ์จึงตอบโจทย์ ด้วยคุณสมบัติของปูนซ่อมที่ไหลตัวได้ดีเยี่ยม ให้ฟินิชงานพื้นที่สวยงามและเรียบเนียน
4. สกัดพื้นแล้วเทคอนกรีตใหม่

หากพื้นคอนกรีตเกิดการเสียหายรุนแรง เช่น พื้นมีรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ พื้นทรุดตัวจากโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง ฯลฯ ไม่สามารถซ่อมแซมด้วยปูนซ่อมพื้นคอนกรีตหรือไม่สามารถปิดหรือเติมรอยร้าวเพียงอย่างเดียวแล้วจบ วิธีที่จะช่วยให้พื้นกลับมาใช้งานได้ คือ การแย็กแล้วเทคอนกรีตใหม่ การเลือกใช้ปูนคอนกรีตที่ได้มาตรฐาน ใส่ใจเรื่องวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน และมีคุณภาพ จะช่วยให้พื้นคอนกรีตใหม่มีความแข็งแรง มีกำลังอัดคอนกรีตสูง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น
ปัจจัยที่ควรคำนึงก่อนเลือกปูนซ่อมพื้นคอนกรีต
การซ่อมพื้นคอนกรีตที่ดีและเหมาะสม ควรจะต้องเข้าใจปัจจัยที่ควรรู้ก่อน นั่นคือ ลักษณะความเสียหาย สภาพแวดล้อมการใช้งาน และระยะเวลาในการซ่อมพื้นคอนกรีต
ลักษณะความเสียหายก่อนซ่อมแซมควรประเมินขนาดและความลึกของความเสียหายก่อน หากเป็นรอยร้าวเล็ก ๆ อาจใช้สารเหลวฉีดซ่อมรอยร้าวก่อน หากคอนกรีตสึกกร่อนเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ไม่กระทบโครงสร้าง แต่ทำให้พื้นที่หน้างานขาดความสวยงาม การใช้ปูนซ่อมพื้นคอนกรีต Self Leveling ก็เป็นหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสม และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สูงเพื่อประเมินความเสียหายก่อนการซ่อมแซมทุกครั้ง เพื่อให้งานราบลื่น สมบูรณ์แบบตรงใจมากที่สุด
สภาพแวดล้อมการใช้งานของพื้นพิจารณาว่าพื้นที่ซ่อมต้องรับค่าน้ำหนักสูงและมีการสัมผัสสารเคมีหรือไม่ เช่น พื้นโรงงานอุตสาหกรรมอาจต้องใช้ปูนซ่อมที่ทนทานต่อสารเคมีและการขัดสีสูง เพราะบริเวณพื้นที่ทั้งในและนอกโรงงานมักมีรถบรรทุก โฟล์คลิฟท์สัญจรอยู่เสมอ การเลือกปูนซ่อมจึงควรพิจารณาเรื่องมีค่ารับน้ำหนักและความทนทานด้วย แต่หากพื้นที่ซ่อมเป็นบริเวณที่มีความชื้นสูง ควรเลือกปูนที่ทนทานต่อความชื้นจะดีที่สุด
ระยะเวลาในการซ่อมแซมหากต้องการใช้งานพื้นเร็วอย่างเร่งด่วน หรือบริเวณตรงนั้นไม่สามารถปิดพื้นที่ได้นาน เช่น ถนนทางหลวง ด่านเก็บเงิน แนะนำว่าควรเลือกปูนซ่อมที่แข็งตัวเร็ว จะช่วยย่นระยะเวลาให้ไม่ต้องปิดใช้งาน ทั้งยังช่วยลดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการปิดซ่อมนาน ๆ ได้
ซ่อมพื้นคอนกรีตให้มีคุณภาพด้วยปูนซ่อมผิวเฟอร์โรกรีต 216
ปัญหาเรื่องพื้นเป็นหนึ่งในปัญหาที่ช่างและผู้รับเหมาโครงการต่าง ๆ ปวดหัวมากที่สุด หลายครั้งที่ช่างไม่สามารถส่งงานได้หลังโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพราะสาเหตุมาจากพื้นถนนคอนกรีตยังเสียหาย จากการการรับน้ำหนักรถบรรทุกที่สัญจรเข้า-ออกเป็นเวลานาน ทำให้ช่างจึงต้องหาวิธีซ่อมพื้นคอนกรีตให้กลับมาคงสภาพที่สมบูรณ์ให้ได้เร็วที่สุด
การเลือกใช้ปูนซ่อมพื้นคอนกรีตที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานในการซ่อมแซมพื้นคอนกรีต จึงเป็นงานที่ต้องต้องการใส่ใจในละเอียด เพราะนอกจากจะต้องเลือกปูนที่ทำให้สามารถส่งงานได้ตามกำหนดเวลาแล้ว ปูนที่เลือกมาใช้จะต้องให้ผลลัพธ์ที่ดีและมีอายุการใช้งานยาวนานด้วยเฟอร์โรกรีต 216 ปูนซ่อมผิวถนนจาก Ferro เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับงานซ่อมพื้นคอนกรีต ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่ตอบโจทย์การใช้งานหลากหลาย

คุณสมบัติเด่นของเฟอร์โรกรีต 216
คุณสมบัติเด่น | รายละเอียด |
แห้งเร็ว พร้อมเปิดใช้งานไว | ประสิทธิภาพที่โดดเด่นที่สุดของเฟอร์โรกรีต คือ ปูนแห้งตัวเร็ว ช่วยลดเวลาในการปิดพื้นที่ โดยสามารถเปิดใช้งานให้คนเดินผ่านได้ทันที 1 ชั่วโมงหลังเท และเปิดให้รถสัญจรได้ใน 6 ชั่วโมงหลังเท |
บางแต่ค่ารับน้ำหนักสูง | ใช้เทซ่อมได้ตั้งแต่ความหนา 3-8 มม. ทำให้เหมาะกับงานซ่อมพื้นที่มีความเสียหายหลากหลายระดับ และมีค่ารับน้ำหนักสูงกว่า 300 KSC. |
การยึดเกาะดีเยี่ยม | แรงยึดเกาะสูงจากการประสานกันระหว่าง Mechanical Bonding และ Chemical Bonding ทำให้พื้นคอนกรีตเก่าและใหม่ยึดเกาะกันได้ดี ลดการหลุดล่อน |
ไม่หดตัว, ลดการแตกร้าว | เฟอร์โรกรีต 216 มีเส้นใยไฟเบอร์ขนาดเล็กช่วยลดปัญหาการแตกร้าวหลังการแห้งตัว ทำให้พื้นคอนหรีตหลังซ่อมมีความคงทน อายุการใช้งานยาวนาน |
ใช้งานง่าย | เฟอร์โร 216 ถูกออกแบบมาให้แห้งตัวเร็ว ดังนั้นหลังการเตรียมผิวด้วยเครื่องกัดผิวคอนกรีตและบ่มน้ำ จึงสามารถผสมปูนเข้ากับน้ำตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ข้างบรรจุภัณฑ์และเริ่มเทได้ทันที |
การเลือกปูนซ่อมพื้นคอนกรีตที่เหมาะสมและใช้งานอย่างถูกวิธีจะช่วยให้การซ่อมแซมมีประสิทธิภาพ ยืดอายุการใช้งานของพื้น และประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ดังนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากไม่แน่ใจในการเลือกใช้ปูนซ่อม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดในการซ่อมแซมพื้นคอนกรีตของคุณ