online store
top of page

Ferro Construction Products | Built Green. Built Different. 

  • Facebook
  • Instagram
  • Line
  • TikTok
  • Youtube

เฟอร์โรบอนด์ 111

ลาเท็กซ์ประสานคอนกรีต สำหรับภายนอกอาคาร

เฟอร์โรบอนด์ 111 ลาเท็กซ์ประสานคอนกรีตสูตรน้ำ ชนิดสไตรีน อะคริลิคโพลิเมอร์เป็นนวัตกรรมใหม่ของเคมีก่อสร้าง ซึ่งพัฒนาคุณสมบัติต่างๆให้ดีกว่าอะคริลิคโพลิเมอร์ ทั่วไปเหมาะสำหรับเพิ่มแรงยึดเกาะอย่างดีเยี่ยมระหว่างคอนกรีตเก่ากับ คอนกรีตใหม่ หรือประสานปูนฉาบเก่า-ใหม่โดยใช้ผสมกับน้ำและปูนทรายละเอียดทาด้วยแปรงสลัด น้ำเป็นชั้นประสานก่อนเทคอนกรีตทับหน้าบนพื้นคอนกรีตเดิมออกแบบโดยเฉพาะ สำหรับใช้ภายนอกอาคารในบริเวณที่เปียกชื้นสัมผัสน้ำหรือมีน้ำแช่ขังตลอดจน สัมผัสแดดฝน

Overview

ภาพรวมสินค้า
Usage (การใช้งาน)
Advantages (ประโยชน์)

สำหรับใช้ประสานคอนกรีตภายในและภายนอกอาคาร

แรงยึดเกาะดีเยี่ยมระหว่างคอนกรีตเก่า-ใหม่

งานเทคอนกรีตหรือปูนทรายใหม่ทับหน้าพื้นคอนกรีตเดิม (New Topping) เช่นพื้นภายในคอนโดมิเนี่ยม, พื้นถนนภายนอกอาคารมีการสัญจรปานกลาง

เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ปูนทราย, ลดการแตกร้าว

งานฉาบบาง 1-3 มม. ตกเแต่งผนังและซ่อมแซมคอนกรีตภายนอกอาคาร

เพิ่มความทนทานต่อการเสียดสีและลดการหดตัวให้แก่ปูนทราย

งานติดกระเบื้องเซรามิค โดยผสมกับปูนทราย ในงานบ่อน้ำ,สระว่ายน้ำ

เพิ่มความเหลวลื่น, ฉาบง่าย

งานประสานผิวถนนคอนกรีต หรือ พื้นโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการเทท็อปปิ้งทับบนคอนกรีตเดิม

ยึดเกาะได้ดีบนหลายผิววัสดุ เช่น แผ่นยิปซั่ม, อิฐบล็อก, คอนกรีต, ผนังปูนฉาบ, หิน, แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์

Packaging (ขนาดบรรจุ)
Colour (สี)

5 ลิตร/แกลลอน (1 กล่อง บรรจุ 6 แกลลอน)

ของเหลวสีขาว

20 ลิตร/แกลลอน


200 ลิตร/ถัง



Technical Information

คุณสมบัติทางเทคนิค
คุณสมบัติ
ค่า
มาตรฐาน

ชนิดเคมี

Chemical type

สไตรีน อะคริลิค

ASTM C 1042-99

สถานะ

Form

ของเหลวสีขาว

-

ความถ่วงจำเพาะ, กก./ลิตร

1.10 กก./ลิตร

ASTM D 1475

ความข้นเหลว

22.5 cps

ASTM D 445

ร้อยละของส่วนผสมแข็ง

~40

ASTM D 5201


คุณสมบัติ
ค่า
มาตรฐาน

ค่าแรงยึดเกาะของลาเท็กซ์ ทดสอบด้วยวิธีแรงเฉือนเอียง ที่ 28 วัน Bond strength by slant shear at 28 days, MPa

2.10

ASTM C 1042-99


Application

วิธีผสมและการใช้งาน
Application Information
วิธีการใช้งาน
  • ผสมน้ำได้หลายอัตรา ขึ้นกับการใช้งาน
    ผสมเฟอร์โรบอนด์ 111 ประมาณ 3-4 ตร.ม./กก. ในการผสมกับปูนซีเมนต์และทรายละเอียดเป็นชั้นประสานที่ความหนา
    ของชั้นประสานประมาณ 1-1.5 มม.

Application Steps
ขั้นตอนการติดตั้ง
  • 1. การประสานพื้นคอนกรีตเก่า-ใหม่ภายในอาคาร

    ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาที นาน 1-3 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นทา

    ด้วยแปรงสลัดน้ำ เป็นชั้นประสานหนา 1-2 มม. และเทปูนทราย หรือคอนกรีตทับหน้าตามทันที (ห้ามรอชั้นประสานแห้ง)


    2. งานฉาบบาง 1-3 มม. แต่งผิวผนังคอนกรีต

    ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาที นาน 1-3 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำ

    ไปฉาบแต่งผิวคอนกรีตบาง 1-3 มม.


    3. งานสลัดดอก เพื่อเป็นหนามให้ปูนฉาบยึดเกาะ

    ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน จากนั้นใช้ไม้กวาดทางมะพร้าว หรือแปรง สลัดส่วนผสมให้ติดกับพื้นผิวเสาให้เป็นปุ่มแหลม

    ทั่วบริเวณ ทิ้งแห้งอย่างน้อย 3 วัน ก่อนฉาบปูนทับ


  • การเตรียมผิวพื้นคอนกรีตเก่า


    กรณีที่ 1 : ผิวพื้นคอนกรีตเก่าเป็นน้ำปูนที่แห้งไม่แข็งแรง ไม่เหมาะกับการยึดเกาะทับผิว (Laitance) หรือเป็นผิวมันท็อปปิ้ง (Loose mortar topping) ที่พร้อมจะหลุดร่อน


    • วิธีประเมินผิว

    ใช้วิธีกรีดด้วยมีด (Knife test) ถ้าเป็นฝุ่นง่าย มีรอยลึกจากการกรีด ได้ถึง 2 มม. หรือแซะด้วยมีดออกเป็นฝุ่นง่าย แสดงว่าเป็นชั้นน้ำปูนอ่อนแอ ไม่เหมาะกับการเทคอนกรีตทับหน้า


    • การเตรียมผิว

    ผิวที่อ่อนแอจะต้องถูกกัดออกด้วย เครื่องขัดเตรียมผิวคอนกรีต (Concrete scarifier) ให้ได้ความหยาบตามมาตรฐานสถาบันซ่อมแซมคอนกรีตระหว่างประเทศ มีค่าความหยาบระหว่าง 4-6 (The International Concrete Repair Institute-ICRI csp 4-6) จนถึงชั้นที่แข็งแรง ทั้งนี้ เครื่องขัดเตรียมผิวคอนกรีต (Concrete scarifier) จะทำให้ผิวหยาบ (Rough profile) เหมาะกับการยึดเกาะ ส่วนกรณีท็อปปิ้งหลุดร่อนจากผิวคอนกรีต ต้องสกัดและเทท็อปปิ้งใหม่ ปกติควรมีค่ารับน้ำหนักไม่น้อยกว่า 210 กก./ตร.ซม. ที่ 28 วัน ดูดฝุ่นและเช็ดด้วยผ้าม็อบหมาด

    • หลีกเลี่ยง

    การฉีดบ่มนํ้าปริมาณมากๆ ลงบนผิวที่เตรียมไว้แล้วเนื่องจากเฟอร์โรบอนด์ 111 มีสารเคมีป้องกันการถูกแย่งน้ำและมีไพรเมอร์ที่มีส่วนผสมของน้ำซึ่งจะแทรกซึมลงไปยึดเกาะบนผิวคอนกรีตที่แห้ง หากพื้นอิ่มนํ้ามากเกินไปไพรเมอร์จะไม่สามารถแทรกลงไปได้และนํ้าที่บ่มจะไม่มีทางระบายออก จึงอาจดันแผ่นผิวของ เฟอร์โรบอนด์ 111 ให้บวมเป็นจุดๆได้ เพราะเซ็ทตัวเร็วมากกว่ากว่าการระบายความชื้นของปูนปกติ จึงต้องเตรียมผิวเหมือนกับงานพื้นอีพ็อกซี่โรงงานอุตสาหกรรม (Epoxy industrial floor)



    กรณีที่ 2 : ผิวพื้นเก่าเคลือบสารที่เป็นอุปสรรคต่อการยึดเกาะทั้งที่มองเห็นได้ง่ายและที่สังเกตได้ยาก เช่น น้ำยาบ่ม, น้ำมัน, สารกันน้ำและอีพ็อกซี่


    • วิธีประเมินผิว

    ใช้วิธีหยดด้วยน้ำ (Drop test)  หากทดลองหยดน้ำบนผิวแล้วหยดน้ำกลมเหมือนน้ำบนใบบัว ดูดซึมช้า ภายใน 10 วินาที ยังไม่ซึมหมด แสดงให้เห็นว่า น่าจะมีสารเคลือบผิวอยู่

    • การเตรียมผิว

    ใช้เครื่องขัดผิว (Floor grinding) เป็นใบลูกถ้วยเพชร หมุนขัดบนผิวเพื่อลอก สารเคลือบผิวออก หรือใช้เครื่องยิงเม็ดเหล็ก (Shot blast) เพื่อกัดผิวหน้าออกประมาณ 1 มม. ให้ผิวหยาบสะอาด ทั้งนี้ควรทดสอบหยดน้ำอีกครั้งหลังเตรียมผิวและทดลองเท คอนกรีตทดสอบ 1-2 ตร.ม. ก่อนเทแผงใหญ่



    กรณีที่ 3 : ผิวพื้นเก่ามีคราบกาวกระเบื้องติดอยู่


    • วิธีประเมินผิว

    กรณีกาว แอสฟัลท์ คัทแบ็ค ไม่มีส่วนผสมของแอสเบสทอส (Cut-Back asphalt adhesive-non asbestos) พื้นผิวทั่วไปจะเป็นยางสีดำ ให้สังเกตการแห้งกรอบ หรือยังเหนียวชื้นอยู่

    • การเตรียมผิว

    ใช้เครื่องกัดผิว (Scarifier) เพื่อรื้อพื้นผิวเดิมออกให้มากที่สุด (มากกว่า 80% โดยเฉพาะเศษที่แห้งกรอบ) ทั้งนี้หากยังมีคราบกาวดำติดแน่นหลงเหลืออยู่บ้าง (20%) เฟอร์โรบอนด์ 111 สามารถยึดเกาะกับกาวชนิดนี้ได้ โดยจะมีแรงยึดเกาะประมาณ 0.5 MPa อย่างไรก็ตาม ควรเตรียมผิวให้หยาบสะอาดที่สุดเป็นลำดับแรก


    *กรณี กาวชนิดทำปฎิกริยาต่อแรงกดและเหนียวเหนอะอยู่เสมอ (Tacky Or Pressure Sensitive adhesive)

    กาวกลุ่มนี้ไม่สามารถยึดเกาะกับ เฟอร์โรบอนด์ 111 ได้ ต้องรื้อผิวกาวออกด้วยเครื่องกัดผิว (Scarifier) เท่านั้น ให้สะอาดเห็นผิวคอนกรีตเดิม 100% ฉีดล้างพื้นผิวเติมที่เตรียมผิวไว้แล้วด้วยเครื่องฉีดนํ้าแรงดันสูง


    การผสม

    1. การประสานพื้นคอนกรีตเก่า-ใหม่ภายในอาคาร

    ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาที นาน 1-3 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นทา

    ด้วยแปรงสลัดน้ำ เป็นชั้นประสานหนา 1-2 มม. และเทปูนทราย หรือคอนกรีตทับหน้าตามทันที (ห้ามรอชั้นประสานแห้ง)


    2. งานฉาบบาง 1-3 มม. แต่งผิวผนังคอนกรีต

    ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาที นาน 1-3 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำ

    ไปฉาบแต่งผิวคอนกรีตบาง 1-3 มม.


    3. งานสลัดดอก เพื่อเป็นหนามให้ปูนฉาบยึดเกาะ

    ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน จากนั้นใช้ไม้กวาดทางมะพร้าว หรือแปรง สลัดส่วนผสมให้ติดกับพื้นผิวเสาให้เป็นปุ่มแหลม

    ทั่วบริเวณ ทิ้งแห้งอย่างน้อย 3 วัน ก่อนฉาบปูนทับ

  • ล้างเครื่องมือด้วยน้ำสะอาดก่อนวัสดุผสมแห้งตัว หากวัสดุผสมแห้งตัวแล้วต้องลอกออกด้วยแรงกลเช่น การขูดออก

Product Details

ข้อมูลผลิตภัณฑ์
Sustainability / Certifications / Approvals
ความยั่งยืน / มาตรฐานอ้างอิงการทดสอบผลิตภัณฑ์
  • เฟอร์โรบอนด์ 111 ลาเท็กซ์ประสานคอนกรีตสำหรับใช้ภายนอกอาคารทดสอบมาตรฐาน
    สมาคมอเมริกัน เพื่อการทดสอบวัสดุ (American Society for Testing and Materials -
    ASTM) เอเอสทีเอ็ม ซี 1042-99 (ไม่กระจายตัวเมื่อสัมผัสน้ำ)

Product Information
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
  • อายุการเก็บ 1 ปี ในภาชนะ

  • เก็บในที่ร่ม, แห้ง อุณหภูมิประมาณ 23 °ซ + 2% ความชื้นสัมพัทธ์ 50 + 5%RH (ตามมาตรฐาน ISO 554)

System Information
ข้อมูลระบบ
bottom of page