เฟอร์โรบอนด์ 101
ลาเท็กซ์ประสานคอนกรีต สำหรับภายในอาคาร
เฟอร์โรบอนด์ 101 ลาเท็กซ์ประสานคอนกรีตสูตรน้ำ ชนิดไวนิล อะซิเตท โคโพลิเมอร์ (Vinyl acetate copolymer) ใช้ประสานระหว่างคอนกรีตเก่ากับคอนกรีตใหม่ หรือปูนฉาบเก่ากับใหม่ ใช้ผสมกับน้ำและปูนทราย ทาด้วยแปรงสลัดน้ำเป็นชั้นประสาน ก่อนเทคอนกรีตทับหน้าบนพื้นคอนกรีตเดิม ออกแบบโดยเฉพาะใช้ภายในอาคาร ในบริเวณแห้งไม ่สัมผัสน้ำ หรือความชื้นเท่านั้น เช่น ประสานพื้นท็อปปิ้งภายในบ้าน, คอนโดมิเนียม หรือผสมปูนซีเมนต์ในงานสลัดดอก ก่อนฉาบผนังภายในอาคาร
Overview
ภาพรวมสินค้า
Usage (การใช้งาน) | Advantages (ประโยชน์) |
สำหรับใช้ภา ยในอาคารและในที่ซึ่งไม่สัมผัสน้ำ หรือละอองน้ำ | แรงยึดเกาะดีเยี่ยมระหว่างคอนกรีตเก่า-ใหม่ |
งานประสานพื้นคอนกรีตเก่า-ใหม่ภายในอาคาร | เพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ปูนทราย, ลดการแตกร้าว |
งานฉาบบางตกแต่งผนังและซ่อมแซมคอนกรีตภายในอาคาร | เพิ่มความทนทานต่อการเสียดสีและลดการหดตัวให้แก่ปูนทราย |
งานติดกระเบื้องเซรามิค, พื้นและผนังบริเวณที่ไม่สัมผัสน้ำ | เพิ่มความเหลวลื่น, ฉาบง่าย |
งานสลัดดอก ก่อนฉาบผนังภายในอาคาร | ยึดเกาะได้ดีบนหลายผิววัสดุ เช่น แผ่นยิปซั่ม, อิฐบล็อก, คอนกรีต, ผนังปูนฉาบ, หิน, แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ |
Packaging (ขนาดบรรจุ) | Colour (สี) |
1 ลิตร/แกลลอน (10 แกลลอน/กล่อง) | ของเหลวสีขาว |
5 ลิตร/แกลลอน (4 แกลลอน/กล่อง, 40 กล่อง/พาเลท = 160 แกลลอน) | |
20 ลิตร/แกลลอน (24 แกลลอน/พาเลท) | |
200 ลิตร/ถัง | |
1,000 ลิตร/ถัง |
Technical Information
คุณสมบัติทางเทคนิค
คุณสมบัติ | ค่า | มาตรฐาน |
ชนิดเคมี Chemical type | ไวนิล อะซิเตท โคโพลิเมอร์ | - |
สถานะ Form | ของเหลวสีขาว | - |
ความถ่วงจำเพาะ, กก./ลิตร (ประมาณ) Specific gravity, kg./litre (Approx.) | ~1.02 กก./ลิตร | ASTM D 1475 |
ความข้นเหลว (เข็มเบอร์ 2, รอบ 60), มิลลิปาสคาลวินาที (ประมาณ) Viscosity (Needle No. 2, round 60), mPa.s (Approx.) | 40-42 มิลลิปาสคาลวินาที | ASTM D 445 |
ความเป็นกรด-ด่าง (ประมาณ) pH (Approx.) | 4.0-5.0 | - |
หัวข้อทดสอบ | เกณฑ์ มอก.2702-2559 | เกณฑ์ ASTMC1059 Type I(Redispersable) | ค่าเฟอร์โรบอนด์101 | หมายเหตุ |
ค วามต้านแรงยึดจากการเฉือนเอียง ที่ 14 วัน, เมกะปาสคาล (ประมาณ) Bond strength by slant shear at 14 days, MPa. (Approx.) | 2.8 เมกะปาสคาล | 2.8 เมกะปาสคาล | 11.1 เมกะปาสคาล | ผ่าน |
หัวข้อทดสอบ | เฟอร์โรบอนด์101 | น้ำ | ปูนซีเมนต์ปอร์ต-แลนด์ ประเภท 1 | ทราย0.3 มม. |
*หมายเหตุ การผสม (โดยน้ำหนัก) | 1 | 1 | 2.5 | 3.5 |
Application
วิธีผสมและการใช้งาน
Application Information
วิธีการใช้งาน
ผสมน้ำได้หลายอัตรา ขึ้นกับการใช้งาน
ผสมเฟอร์โรบอนด์ 101 ประมาณ 3-4 ตร.ม./ลิตร ในการผสมกับปูนซีเมนต์และทรายละเอียดเป็นชั้นประสานที่
ความหนาประมาณ 0.3-2 มม.
Application Steps
ขั้นตอนการติดตั้ง
1. การประสานพื้นคอนกรีตเก่า-ใหม่ภายในอาคาร
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาที นาน 1-3 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นทา
ด้วยแปรงสลัดน้ำ เป็นชั้นประสานหนา 1-2 มม. และเทปูนทราย หรือคอนกรีตทับหน้าตามทันที (ห้ามรอชั้นประสานแห้ง)
2. งานฉาบบาง 1-3 มม. แต่งผิวผนังคอนกรีต
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาที นาน 1-3 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำ
ไปฉาบแต่งผิวคอนกรีตบาง 1-3 มม.
3. งานสลัดดอก เพื่อเป็นหนามให้ปูนฉาบยึดเกาะ
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน จากนั้นใช้ไม้กวาดทางมะพร้าว หรือแปรง สลัดส่วนผสมให้ติดกับพื้นผิวเสาให้เป็นปุ่มแหลม
ทั่วบริเวณ ทิ้งแห้งอย่างน้อย 3 วัน ก่อนฉาบปูนทับ
การเตรียมผิวพื้นคอนกรีตเก่า
กรณีที่ 1 : ผิวพื้นคอนกรีตเก่าเป็นน้ำปูนที่แห้งไม่แข็งแรง ไม่เหมาะกับการยึดเกาะทับผิว (Laitance) หรือเป็นผิวมันท็อปปิ้ง (Loose mortar topping) ที่พร้อมจะหลุดร่อน
วิธีประเมินผิว
ใช้วิธีกรีดด้วยมีด (Knife test) ถ้าเป็นฝุ่นง่าย มีรอยลึกจากการกรีด ได้ถึง 2 มม. หรือแซะด้วยมีดออกเป็นฝุ่นง่าย แสดงว่าเป็นชั้นน้ำปูนอ่อนแอ ไม่เหมาะกับการเทคอนกรีตทับหน้า
การเตรียมผิว
ผิวที่อ่อนแอจะต้องถูกกัดออกด้วย เครื่องขัดเตรียมผิวคอนกรีต (Concrete scarifier) ให้ได้ความหยาบตามมาตรฐานสถาบันซ่อมแซมคอนกรีตระหว่างประเทศ มีค่าความหยาบระหว่าง 4-6 (The International Concrete Repair Institute-ICRI csp 4-6) จนถึงชั้นที่แข็งแรง ทั้งนี้ เครื่องขัดเตรียมผิวคอนกรีต (Concrete scarifier) จะทำให้ผิวหยาบ (Rough profile) เหมาะกับการยึดเกาะ ส่วนกรณีท็อปปิ้งหลุดร่อนจากผิวคอนกรีต ต้องสกัดและเทท็อปปิ้งใหม่ ปกติควรมีค่ารับน้ำหนักไม่น้อยกว่า 210 กก./ตร.ซม. ที่ 28 วัน ดูดฝุ่นและเช็ดด้วยผ้าม็อบหมาด
หลีกเลี่ยง
การฉีดบ่มน้ำปริมาณมากๆ ลงบนผิวที่เตรียมไว้แล้ว เนื่องจากคอนกรีตมีสารเคมีป้องกัน การถูกแย่งน้ำและมีไพรเมอร์ที่มีส่วนผสมของน้ำ ซึ่งจะแทรกซึมลงไปยึดเกาะบนผิวคอนกรีตที่แห้ง หากคอนกรีตอิ่มน้ำมากเกินไป ไพรเมอร์จะไม่สามารถแทรกลงไปได้และน้ำที่บ่มจะไม่มีทางระบายออก จึงอาจดันแผ่นผิวของคอนกรีตให้บวมเป็นจุดๆ ได้เพราะเซ็ทตัวเร็วมากกว่าการระบายความชื้นของคอนกรีตปกติ จึงต้องเตรียมผิวเหมือนกับงานพื้นอีพ็อกซี่โรงงานอุตสาหกรรม (Epoxy industrial floor)
กรณีที่ 2 : ผิวพื้นเก่าเคลือบสารที่เป็นอุปสรรคต่อการยึดเกาะทั้งที่มองเห็นได้ง่ายและที่สังเกตได้ยาก เช่น น้ำยาบ่ม, น้ำมัน, สารกันน้ำและอีพ็อกซี่
วิธีประเมินผิว
ใช้วิธีหยดด้วยน้ำ (Drop test) หากทดลองหยดน้ำบนผิวแล้วหยดน้ำกลมเหมือนน้ำบนใบบัว ดูดซึมช้า ภายใน 10 วินาที ยังไม่ซึมหมด แสดงให้เห็นว่า น่าจะมีสารเคลือบผิวอยู่
การเตรียมผิว
ใช้เครื่องขัดผิว (Floor grinding) เป็นใบลูกถ้วยเพชร หมุนขัดบนผิวเพื่อลอก สารเคลือบผิวออก หรือใช้เครื่องยิงเม็ดเหล็ก (Shot blast) เพื่อกัดผิวหน้าออกประมาณ 1 มม. ให้ผิวหยาบสะอาด ทั้งนี้ควรทดสอบหยดน้ำอีกครั้งหลังเตรียมผิวและทดลองเท คอนกรีตทดสอบ 1-2 ตร.ม. ก่อนเทแผงใหญ่
กรณีที่ 3 : ผิวพื้นเก่ามีคราบกาวกระเบื้องติดอยู่
วิธีประเมินผิว
กรณีกาว แอสฟัลท์ คัทแบ็ค ไม่มีส่วนผสมของแอสเบสทอส (Cut-Back asphalt adhesive-non asbestos) พื้นผิวทั่วไปจะเป็นยางสีดำ ให้สังเกตการแห้งกรอบ หรือยังเหนียวชื้นอยู่
การเตรียมผิว
ใช้เครื่องขัดเตรียมผิวคอนกรีต (Concrete scarifier) ให้ได้ความหยาบตามมาตรฐานสถาบันซ่อมแซมคอนกรีตระหว่างประเทศมีค่าความหยาบระหว่าง 4-6 (The InternationalConcrete Repair Institute-ICRI csp 4-6) เพื่อรื้อพื้นผิวเดิมออกให้มากที่สุด (มากกว่า 80% โดยเฉพาะเศษที่แห้งกรอบ) ทั้งนี้หากยังมีคราบกาวดำติดแน่นหลงเหลืออยู่บ้าง (20%) และทาด้วยลาเท็กซ์ประสานคอนกรีต (เฟอร์โรบอนด์ 101) สามารถยึดเกาะกับกาวชนิดนี้ได้ โดยจะมีแรงยึดเกาะประมาณ 0.5 เมกะปาสคาล อย่างไรก็ตาม ควรเตรียมผิวให้หยาบสะอาดที่สุดเป็นลำดับแรก
การผสม
1. การประสานพื้นคอนกรีตเก่า-ใหม่ภายในอาคาร
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาที นาน 1-3 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นทา
ด้วยแปรงสลัดน้ำ เป็นชั้นประสานหนา 1-2 มม. และเทปูนทราย หรือคอนกรีตทับหน้าตามทันที (ห้ามรอชั้นประสานแห้ง)
2. งานฉาบบาง 1-3 มม. แต่งผิวผนังคอนกรีต
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน ปั่นด้วยสว่านรอบต่ำ 400-600 รอบ/นาที นาน 1-3 นาที ให้เป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำ
ไปฉาบแต่งผิวคอนกรีตบาง 1-3 มม.
3. งานสลัดดอก เพื่อเป็นหนามให้ปูนฉาบยึดเกาะ
ผสมส่วนผสมให้เข้ากัน จากนั้นใช้ไม้กวาดทางมะพร้าว หรือแปรง สลัดส่วนผสมให้ติดกับพื้นผิวเสาให้เป็นปุ่มแหลม
ทั่วบริเวณ ทิ้งแห้งอย่างน้อย 3 วัน ก่อนฉาบปูนทับ
ล้างเครื่องมือด้วยน้ำสะอาด ก่อน เฟอร์โรบอนด์ 101 แห้งตัว
หาก เฟอร์โรบอนด์ 101 แห้งตัวแล้ว ต้องลอกออกด้วยแรงกล เช่น การขูดออก
Product Details
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
Sustainability / Certifications / Approvals
ความยั่งยืน / มาตรฐานอ้างอิงการทดสอบผลิตภัณฑ์
เฟอร์โรบอนด์ 101 ได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 2702-2559 ลาเท็กซ์ประสาน
คอนกรีต ประเภทใช้ภายในและมาตรฐาน ASTM C1042-99 (Bond strength of
latex systems used with concrete by slant shear and ASTM C1059-99
Latex agents for bonding fresh to hardened concrete)
Product Information
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
อายุการเก็บ 1 ปี ในภาชนะ
เก็บในที่ร่ม, แห้ง อุณหภูมิประมาณ 23 °ซ + 2% ความชื้นสัมพัทธ์ 50 + 5%RH (ตามมาตรฐาน ISO 554)
System Information
ข้อมูลระบบ